สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 11-17 พ.ค. 61



ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
 
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2560/61
มติที่ประชุม ครม. เห็นชอบมาตรการฯ จำนวน 13 โครงการ ดังนี้
1) ด้านการผลิต มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560และวันที่ 12ธันวาคม 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่
- โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี
- โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่ หลักเกณฑ์ใหม่)
- โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
- โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561
- โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561
- โครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561
- โครงการขยายการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561และ
- โครงการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ ฤดูนาปรัง ปี 2561
2) ด้านการตลาด มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่
- โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
- โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
- โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปี และ
- โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
3) ด้านการเงิน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ปีการผลิต 2560
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,541 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,421 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,003 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,836 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.13

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,850 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 34,290 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.63
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย
100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,191 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,765 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,161 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,740 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.58 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,025 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 449 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,237 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 450 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,240 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 3 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,793 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 27 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 434 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,762 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 28 บาท
 
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.7088
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
 
ไทย
           นายกีรติ  รัชโน รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยภายหลังชี้แจงเงื่อนไขการประมูลข้าวสารสต็อกรัฐบาลเป็นการทั่วไป ครั้งที่ 1/2561 ว่า จะเปิดประมูลขายข้าวกลุ่ม 1 (ข้าวเพื่อการบริโภค) 43,700 ตัน ลอตสุดท้ายของกลุ่มนี้ เป็นข้าวขาว 5% ปริมาณ 24,000 ตัน ข้าวหอมมะลิ 100% ปริมาณ 7,000 ตัน ข้าวหอมจังหวัด 6,000 ตัน เป็นต้น ซึ่งเก็บอยู่ใน 20 คลังสินค้า 15 จังหวัด ในความรับผิดชอบขององค์การคลังสินค้า (อคส.) โดยจะเปิดให้ผู้สนใจดูสภาพข้าววันที่ 8-15 พฤษภาคม 2561 ก่อนเปิดให้ยื่นซองคุณสมบัติเพื่อเสนอซื้อวันที่ 18 พฤษภาคม 2561 ซึ่งกำหนดให้ซื้อแบบเหมาคลัง
          สำหรับราคาข้าวปัจจุบัน พบว่า ข้าวเปลือก 5% ตันละ 8,000-8,200 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลิตันละ 15,500-16,000 บาท ส่วนราคาส่งออกข้าวขาว 5% ตันละ 452 ดอลลาร์สหรัฐฯ ข้าวหอมมะลิ 100% ตันละ 1,100 ดอลลาร์สหรัฐฯ คาดว่าราคาจะเพิ่มขึ้นอีกจากการที่ไทยชนะการประมูลนำเข้าข้าวของรัฐบาลฟิลิปปินส์ 120,000 ตัน ส่วนข้าวที่เหลือในสต็อกรัฐบาลกลุ่ม 2 หรือข้าวเข้าอุตสาหกรรมที่มิใช่การบริโภคของคน ปริมาณ 1.48 ล้านตัน และข้าวกลุ่ม 3 หรือข้าวเข้าอุตสาหกรรมที่มิใช่การบริโภคของคนและสัตว์ ปริมาณ 540,000 ตัน จะนำมาเปิดประมูลเดือนมิถุนายนนี้ ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2557-5 เมษายน 2561 กรมการค้าต่างประเทศระบายข้าวสารสต็อกแล้ว 14.84 ล้านตัน มูลค่า 135,000 ล้านบาท
          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การระบายสต็อกข้าวรัฐบาล 14.84 ล้านตัน มูลค่า 135,000 ล้านบาท พบว่า ขายได้เฉลี่ยตันละ 9,097 บาท ขณะที่ราคารับจำนำข้าวเปลือกปี 2554/55 ปี 2555/56 และปี 2556/57 อยู่ที่ตันละ 15,000 บาท สำหรับข้าวขาว เมื่อคิดเป็นข้าวสารจะมีต้นทุนตันละประมาณ 24,000 บาท หรือขาดทุนตันละ 15,000 บาท รวมขายข้าว 14.84 ล้านตัน ขาดทุนจากต้นทุนรับจำนำรวม 220,000 ล้านบาท
         
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ


เวียดนาม
         ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวสูงใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ท่ามกลางภาวะความต้องการ
ข้าวจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ขณะที่อุปทานข้าวในตลาดภายในประเทศมีจำกัด โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่
455-460 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน เพิ่มขึ้นจาก 445-450 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน เมื่อสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ วงการค้าข้าวกำลังรอการประมูลซื้อข้าวแบบ G to P ของรัฐบาลฟิลิปปินส์ จำนวน 250,000 ตัน ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคมนี้ ซึ่งคาดว่าบริษัทเวียดนามจะประมูลได้จำนวนมาก
         กรมศุลกากร (the General Department of Vietnam Customs) รายงานว่า ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวจำนวน 721,379 ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคมที่ผ่านมาร้อยละ 9 และเพิ่มขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 35 ส่งผลให้ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกข้าวแล้วประมาณ 2.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 24
         
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


จีน-ญี่ปุ่น
          จีนเริ่มออกกฎเข้มงวดข้าวที่นำเข้าจากญี่ปุ่น หลังเกิดหายนะภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ เมื่อปี 2554 แต่เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2561 ทั้ง 2 ประเทศ ทำข้อตกลงอำนวยความสะดวกให้ญี่ปุ่นส่งข้าวได้มากขึ้น ทำให้คาดว่าจีนจะกลายเป็นตลาดข้าวญี่ปุ่นรายใหญ่ แม้ขณะนี้ยังคิดเป็นเพียงร้อยละ 3 ของการส่งออกทั้งหมด โดยมีฮ่องกงและสิงคโปร์เป็นตลาดส่งออกรายใหญ่สุดที่ญี่ปุ่นส่งข้าวมาขาย ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 60 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด
          กระทรวงเกษตรญี่ปุ่นมองว่า จีนเป็นปัจจัยสำคัญในการบรรลุเป้าหมายส่งออกข้าวและผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่อง ให้ได้ปีละ 100,000 ตัน ในปี 2560 ญี่ปุ่นส่งออกข้าว 11,800 ตัน แต่ในจำนวนนี้ส่งมาจีนเพียง 298 ตันเท่านั้น ทั้งๆ ที่จีนบริโภคข้าวมากกว่าญี่ปุ่นรวม 20 เท่า
          แม้ 2 มหาอำนาจเศรษฐกิจเอเชียทำข้อตกลงกันแล้ว แต่กฎระเบียบและราคาที่สูงยังเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับ ผู้ส่งออกญี่ปุ่น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่กล่าวว่า การส่งออกข้าวญี่ปุ่นยังต้องเผชิญความเสี่ยงจากความตึงเครียดทางการเมืองระหว่าง 2 ประเทศ
          สำหรับการส่งออกนั้น ข้าวเปลือกจะต้องสีและรมควันในโรงงานที่จีนอนุมัติว่าปลอดภัย ซึ่งข้อตกลงใหม่จะเพิ่มจำนวนโรงสีและโรงรมที่ผ่านการอนุมัติ จากปัจจุบันที่มีเพียงแห่งเดียวดำเนินการโดยสมาคมสมาพันธุ์สหกรณ์การเกษตรแห่งชาติ ในจังหวัดคานากาวะ ทางใต้ของกรุงโตเกียว  และต่อไปจะเปิดโรงสีเพิ่มอีก 2 แห่ง ที่เมืองอิชิคาริทางตอนเหนือของเกาะฮอกไกโด ดำเนินการโดยสมาพันธ์สหกรณ์การเกษตรโฮคูเรน และที่เมืองนิชิโนมิยาทางตะวันตกของจังหวัดเฮียวโงะ บริหารงานโดยชินไม บริษัทค้าส่งข้าวรายใหญ่สุดของประเทศ  ทั้งนี้ ผู้บริหารรายหนึ่งของชินไมตอบรับข้อตกลงดังกล่าวที่ช่วยให้บริษัทตอบสนองความต้องการในจีนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
          นอกจากนี้ ตามข้อตกลงใหม่กระทรวงเกษตรญี่ปุ่นจะจดทะเบียนโรงรมเพื่อส่งออกข้าวไปจีนเพิ่มอีก 5 แห่ง รวมทั้งในฮอกไกโดยและเฮียวโงะ ส่วนชินไมไม่ได้รับอนุญาตให้สีข้าวและรมข้าวในโรงงานของตนที่โกเบเพื่อส่งออกจากท่าเรือโกเบ
          เหตุผลหนึ่งที่ทำให้ข้าวญี่ปุ่นราคาสูงมากในจีน เนื่องจากต้นทุนการขนส่งและกำไรของตัวแทนจำหน่าย การลดต้นทุนจึงเป็นความท้าทายสำคัญสำหรับผู้ส่งออกข้าวญี่ปุ่น
          ประธานนันบุ บิจิน บริษัทผลิตเหล้าสาเกในเมืองนิโนเฮ จังหวัดอิวาเตะ กล่าวว่า หายนะภัยนิวเคลียร์ฟุกุชิมะ เมื่อปี 2554 ทำให้จีนต้องเข้มงวดการนำเข้าข้าวจากญี่ปุ่น รวมถึงอาหารทุกอย่างจาก 10 จังหวัด เช่น ฟุกุชิมะ มิยากิ และนิงาตะ ส่งผลกระทบหนักต่ออุตสาหกรรมข้าว
          เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรรายหนึ่งเผยว่า รัฐบาลโตเกียวและปักกิ่งตั้งคณะทำงานหารือขั้นตอนผ่อนคลายข้อจำกัด แต่ก็ยังหวังผลมากไม่ได้
          ด้านประธานสหภาพสหกรณ์การเกษตรกลาง ยังระมัดระวังเรื่องอนาคตการส่งออกข้าวไปจีน ระบุ “เราไม่ได้หวังจะคืบหน้าอย่างรวดเร็ว แต่เราก็ยังดีใจที่ได้เดินหน้า”
         
ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

 


 

 
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ 
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.55 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.15 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.55 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.95 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.76
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ10.30 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.14 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.58 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.51 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.12 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.28
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 338.25 ดอลลาร์สหรัฐ (10,725 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 333.20 ดอลลาร์สหรัฐ (10,544 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52 และเพิ่มขึ้น    ในรูปของเงินบาทตันละ 181.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 397.88 เซนต์ (5,033 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 402.92 เซนต์ (5,087 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.25 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 54.00 บาท
 

มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.87 ล้านไร่ ผลผลิต 27.24 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.46 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.71 ล้านไร่ ผลผลิต 30.50 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.50 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 9.64, 10.69 และ 1.14 ตามลำดับ โดยเดือนพฤษภาคม 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.35 ล้านตัน (ร้อยละ 4.96 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 – เมษายน 2561) ปริมาณ 22.65 ล้านตัน (ร้อยละ 83.16 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการมันสำปะหลัง ประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นด้วย
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.56 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.52 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.59
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.61 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.44 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 3.13
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.22 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.23 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.14
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.55 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 16.45 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.61
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 252 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 7,991 บาท ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 16 บาท
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 553 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 17,535 บาท ราคาสูงขึ้นในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตันละ 5 ดอลลาร์สหรัฐฯ และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 194 บาท

 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ          
      สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤษภาคมจะมีประมาณ 1.506 ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.256  ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.357 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.231 ล้านตัน ของเดือนเมษายน 2561 คิดเป็นร้อยละ 10.98  และร้อยละ 10.82 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.99 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 2.88 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.82                                        
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 19.63 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 18.90 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.86  
   
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียมีแนวโน้มปรับตัวลดลง
         ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนสิงหาคม 2561 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2,422 ริงกิตต่อตัน (611.15 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ 0.6 ราคาลดลงต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ เนื่องจากค่าเงินริงกิจของมาเลเซียอ่อนค่าลงส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบลดลงเมื่อเทียบกับน้ำมันพืชถั่วเหลืองที่เป็นพืชแข่งขัน จึงทำให้ความต้องการน้ำมันปาล์มดิบชะลอตัวลง และในขณะที่ช่วง 15 วันแรกของเดือนพฤษภาคมมาเลเซียส่งออกน้ำมันปาล์มดิบลดลงร้อยละ 14.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการน้ำมันปาล์มดิบของผู้นำเข้าที่สำคัญชะลอตัวลง ประกอบกับมาเลเซียจัดเก็บภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มดิบในอัตราร้อยละ 5 ส่งผลให้การส่งออกน้ำมันปาล์มดิบมีแนวโน้มลดลง และมีการคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียอยู่ในช่วง 2,446 – 2,475 ริงกิตต่อตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ  
         ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,415.40 ดอลลาร์มาเลเซีย  (19.79 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,360.94 ดอลลาร์มาเลเซีย  (19.40 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.31    
         ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 656.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (21.09 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 638.13 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (20.46 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.88

 
หมายเหตุ: ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน


อ้อยและน้ำตาล 

สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
          ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อยและ การผลิตน้ำตาลทรายตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2560 จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2561 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 133.80 ล้านตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 14.58 ล้านตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 10.65 ล้านตัน และน้ำตาลทรายขาว 3.93 ล้านตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 12.49 ซี.ซี.เอส. ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 108.98 กก.ต่อตันอ้อย
สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ

 
ราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก หมายเลข 11 (เซนต์/ปอนด์)
 

 
ราคาน้ำตาลทรายขาวตลาดลอนดอน หมายเลข 5 (เหรียญสหรัฐฯ/เมตริกตัน)
 


ถั่วเหลือง
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.99 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.32 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.87
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
          คาดว่าผลผลิตถั่วเหลืองทั่วโลกในปี 2561/62 ปริมาณ  354.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 17.8 ล้านตัน จากประมาณการผลิตของปี 2560/61 ซึ่งเป็นผลจาการฟื้นตัวจากภัยแล้งของอาร์เจนติน่า โดยคาดว่าพื้นที่ปลูกของโลกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 โดยเฉพาะในอเมริกาใต้และอินเดียซึ่งมากกว่าการลดลงพื้นที่เล็กน้อยในสหรัฐอเมริกา. ทำให้ผลผลิตของสหรัฐอเมริกาลดลงตามพื้นที่ปลูกลดลงด้วย พื้นที่เพาะปลูกในอเมริกาใต้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เป็น 61.3 ล้านเฮกตาร์ ปริมาณผลผลิตผลิต 188.5 ล้านตัน สำหรับผลผลิตถั่วเหลืองในจีนไม่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ที่14.1 ล้านตัน และผลผลิตของอินเดียอินเดีย 10.8 ล้านตัน
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,004.16 เซนต์ (11.93 บาท/กก.) ลดลง จากบุชเชลละ 1,012.20 เซนต์ ( 11.93 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.79
          ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 381.30 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.25 บาท/กก.)  ลดลงจากตันละ 389.52 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.49 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.11
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 30.99 เซนต์ (21.95 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 30.71 เซนต์ (21.71 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.91


 


ยางพารา
 
ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 48.97 บาท/กิโลกรัม
 
1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ
ภาพรวมราคายางพาราที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศและราคาส่งออก F.O.B ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตยางออกสู่ตลาดน้อยเพราะมีฝนตกในพื้นที่ปลูกยางหลายพื้นที่ และพื้นที่กรีดยางบางแห่งยังไม่เปิดกรีดส่งผลให้ราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้น ทางด้านนวัตกรรมการใช้ยาง เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2561 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดงาน “Senior Project #4” ตลาดวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ฝีมือนวัตกรพันธุ์ใหม่ ครั้งที่ 4  จัดที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ศูนย์รังสิต ในผลงานที่จัดแสดงมี Rubber Tree Bark for Steel making เป็นผลงานสร้างวัตถุดิบผลิตเหล็กกล้าจากขี้เส้นยางพารา เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ชาวสวนยาง และลดการนำเข้าคาร์บอนจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลงานของ นางสาวธมิกา ชะนะสาร นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ตัวแทนทีม ผู้พัฒนางานวิจัย “เหล็กกล้าจากขี้เส้นยางพารา” เป็นการศึกษาและพัฒนา “ขี้เส้นยางพารา” วัสดุเหลือทิ้งจากยางธรรมชาติ ให้กลายเป็นถ่านคาร์บอนคุณภาพสูง เพื่อทดแทนการใช้ถ่านหินจากธรรมชาติ ควบคู่ไปกับการสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกร และสนับสนุนภาครัฐลดมูลค่าการนำเข้าถ่านหินจากต่างประเทศ  จากการศึกษาวิจัยพบว่า ขี้เส้นยางพารา เป็นชีวมวลที่เป็นวัสดุพอลิเมอร์ธรรมชาติ มีองค์ประกอบหลักคือ คาร์บอน (Carbon based material) ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กกล้า ซึ่งเมื่อเปลี่ยนขี้เส้นยางพาราเป็นถ่านคาร์บอนจะสามารถใช้ทดแทนถ่านหินในการผลิตเหล็กกล้าได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.28 บาท เพิ่มขึ้นจาก 45.86 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.42 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.92 
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.78 บาท เพิ่มขึ้นจาก 45.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.42 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.93
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.28 บาท เพิ่มขึ้นจาก 44.86 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.42 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.94
4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.76 บาท ลดลงจาก 21.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.18 บาท หรือลดลงร้อยละ 5.38
5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.25 บาท ลดลงจาก 18.51 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.26 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.40
6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.69 บาท เพิ่มขึ้นจาก 43.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.41 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.26
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมิถุนายน 2561 
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.28 บาท เพิ่มขึ้นจาก 57.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.19 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.32
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.13 บาท เพิ่มขึ้นจาก 55.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.19 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.33
3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.23 บาท เพิ่มขึ้นจาก 46.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.18 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.38
4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.34 บาท เพิ่มขึ้นจาก 38.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.50 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.28
ณ ท่าเรือสงขลา 
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.03 บาท เพิ่มขึ้นจาก 56.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.19 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.33
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.88 บาท เพิ่มขึ้นจาก 55.69 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.19 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.33
3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.98 บาท เพิ่มขึ้นจาก 45.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.18 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.38
4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.09 บาท เพิ่มขึ้นจาก 38.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.50 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.29

2.  สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์และตลาดโตเกียวปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจาก ประเทศผู้ปลูกยางรายใหญ่อย่างไทยมีฝนตกชุกและพื้นที่กรีดยางบางแห่งยังยังอยู่ในช่วงปิดกรีดทำให้ปริมาณผลผลิตยางออกสู่ตลาดลดลง ทางด้านการค้ายานยนต์ในต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ของจีนประกาศปรับลดภาษีนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมเป็นต้นไป โดยภาษีนำเข้ารถยนต์ส่วนใหญ่จะลดลงร้อยละ 15 ขณะที่ภาษีนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์บางรายการจะลดลงสูงสุดร้อยละ 6 ปัจจุบันการนำเข้ารถยนต์สู่ตลาดจีนมีอัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 25 ก่อนหน้านี้ รัฐบาลจีนเพิ่งประกาศผ่อนปรนกฎระเบียบการดำเนินธุรกิจของบริษัทรถยนต์ต่างชาติในประเทศจีน โดยเปิดโอกาสให้บริษัทรถยนต์ต่างชาติสามารถก่อตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ในจีนได้อย่างเป็นอิสระและไม่ต้องร่วมทุนกับบริษัทสัญชาติจีนในอัตราส่วน 50-50 เหมือนที่ผ่านมา กฎระเบียบการบังคับให้บริษัทรถยนต์ต่างชาติต้องร่วมทุนกับบริษัทจีนถูกกำหนดขึ้นเพื่อควบคุมการแข่งขันให้มีความเป็นธรรมและป้องกันไม่ให้บริษัทต่างชาติเข้ามาครอบงำตลาด ทั้งนี้ อัตราส่วนการนำเข้ารถยนต์ของจีนถือว่ามีจำนวนน้อยมาก โดยจีนมียอดขายรถยนต์ประมาณ 28 ล้านคันในปี 2560 แต่เกือบทั้งหมดเป็นรถยนต์ที่ผลิตในจีนขณะที่รถนำเข้ามีเพียง 1.21 ล้านคัน
ราคายางแผ่นรมควันชั้น3
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 166.86 เซนต์สหรัฐฯ (52.91 บาท) ลดลงจาก 171.62 เซนต์สหรัฐฯ (54.31 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 4.75 เซนต์สหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 2.77
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 181.56 เยน (52.01 บาท) ลดลงจาก 183.95 เยน (52.94 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 2.39 เยน หรือลดลงร้อยละ 1.30

 

 
สับปะรด
 

 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ                                                               
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี     
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 786.00 ดอลลาร์สหรัฐ (24.92 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 788.80 ดอลลาร์สหรัฐ (24.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 722.25 ดอลลาร์สหรัฐ (22.90 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 725.20 ดอลลาร์สหรัฐ (22.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 532.50 ดอลลาร์สหรัฐ (16.88 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 534.00 ดอลลาร์สหรัฐ (16.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 405.50 ดอลลาร์สหรัฐ (12.86 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 407.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 811.25 ดอลลาร์สหรัฐ (25.72 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 814.00 ดอลลาร์สหรัฐ (25.76 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
 


ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ ดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.72 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.57 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.42
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด  สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.72 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.17 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 36.49
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
 


ฝ้าย
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
          ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฏาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 84.29 เซนต์ (กิโลกรัมละ 59.71 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 85.74 เซนต์ (กิโลกรัมละ 60.23 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.69 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.52 บาท
 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,664 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,681 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.01
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,293 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,319 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.97
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,119 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,118 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.09

 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
          สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดไม่มากนัก และใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย   แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
          สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  58.26  บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.70  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.97  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 57.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 50.53 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 60.29 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 62.41 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,600 บาท (บวกลบ 61 บาท) ลดลงจากตัวละ 1,800 บาท (บวกลบ 61 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 11.11
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
          ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
          ภาวะตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่อ่อนตัวลงเล็กน้อย   แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.58 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.14  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.90 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.51 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 8.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
          สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย  แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาและความต้องการบริโภคจะเพิ่มขึ้น เพราะตลาดหลักไข่ไก่คือสถานศึกษาเริ่มเปิดภาคเรียน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 278 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 276 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.72   โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 284 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 273 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 278 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 311 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
         ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 329 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 323 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.87 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 335 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 304 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 349 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
         ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ   
          ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.39 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.24 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ 90.24 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 99.56 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
         ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 72.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.17 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.54 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา 
 


 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต           
          เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 11 –17 พฤษภาคม 2561 ) ไม่มีรายงานปริมาณ
จากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.47 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.47 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.93 บาท ราคาลดลง จากกิโลกรัมละ 88.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.42 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ122.30 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 137.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 15.29 บาท
         สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ  115.00บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 124.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 9.17 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.04 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 83.24 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.20 บาท
         สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 20.00 บาท
         สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00  บาท  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.83 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.03 บาท
         สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 11 – 17 พ.ค. 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา